สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
นิยาม1 สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว คือ สมการที่มีตัวแปรหรือตัวไม่ทราบค่า (unknow) และเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็น 1 ตัวแปรอาจปรากฎเพียงข้างใดข้างหนึ่งของเครื่องหมาย “ = ” หรือ ปรากฏทั้งสองข้างแต่เมื่อจัดรูปให้อยู่ในรูปผลสำเร็จโดยมี x เป็นตัวแปร a , b เป็นค่าคงตัว และ a 0 จะอยู่ในรูปแบบสมการเป็น
ax + b = 0
สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะมีค่าคำตอบเพียงค่าเดียวเท่านั้น คือ จำนวนที่เมื่อนำไปแทนค่าตัวแปรในสมการแล้วทำให้สมการนั้นเป็นจริง บางครั้งจะเรียกคำตอบของสมการว่า รากของสมการ
คำสั่งของโจทย์ประเภทนี้มักใช้คำว่า จงแก้สมการ จงหาค่า x (ตัวแปรในสมการ) จงหารากของสมการหรือจงหารคำตอบของสมการ
สมการ 2 สมการจะสมมูลกันก็ต่อเมื่อคำตอบของสมการ ทั้งสองต้องเท่ากัน
1. การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ต้องอาศัยสมบัติการเท่ากันของจำนวนที่ว่า จำนวน 2 จำนวน ที่เท่ากันเมื่อเพิ่มหรือตัดออกเท่ากันย่อมเท่ากัน
ตัวอย่างที่ 1 จงหาคำตอบของสมการ 2x – 5 = 8
วิธีทำ จากสมการ 2x – 5 = 8
จะได้ 2x – 5 + 5 = 8+5 (นำ 5 ไปบวกทั้งสองข้าง)
x + 7 = 9
จะได้ x + 7 – 7 = 9 –7 (นำ -7 ไปบวกทั้งสองข้าง)
3x = 15
1/3* 3x = 15*1/3 (นำ 1/3 ไปคูณทั้งสองข้าง)
(1)x = 5
x = 5นั่นคือ x = 5
2. โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
โจทย์ประเภทนี้จะมีข้อความที่ไม่ทราบค่าปรากฏอยู่ และข้อความที่เกี่ยวข้องกับข้อความอื่น ๆ อีกหลายข้อความในโจทย์นั้น ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับข้อความนั้น ๆ โดยตรงหรือโดยอ้อม การแก้ปัญหาเกี่ยวกับโจทย์สมการก็คือการหาคำตอบของโจทย์นั่นเอง โดยวิธีการกำหนดตัวแปรแทนข้อความที่ไม่ทราบค่านั้น (นิยมใช้ x เป็นตัวแปร) แล้วเขียนข้อความอื่น ๆ ในรูปของ x นี้ สร้างสมการขึ้นมา
ตัวอย่างเช่น ก มีเงินมากกว่า ข อยู่ 12 บาท ก กับ ข มีเงินรวมกัน 88 บาท ก มีเงินเท่าไหร่
วิธีทำ ให้ ก มีเงิน x บาท จะได้ ข มีเงิน x – 12 บาท
ก และ ข มีเงินรวมกัน 88 บาท
สมการคือ
x + (x-12)=88
2x=88+12
2x=100
x=100/2
x=50
นั่นคือ ก มีเงิน 50 บาท
3. อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
นิยาม 2
อสมการ เป็นประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย > , < , ≤ , ≥ หรือ ≠ เช่น 3x - 2 < 5 , 2x - 1 ≠ 8 - 5 ≤ 2x + 1 < 3 คำตอบของสมการคือ จำนวนทุกจำนวนที่นำไปแทนค่าตัวแปรในอสมการนั้น แล้วทำให้อสมการนั้นเป็นจริง อสมการที่สมมูลกัน จะต้องมีคำตอบเหมือนกันทุกค่า สมบัติเกี่ยวกับการไม่เท่ากัน สำหรับการบวก และ การคูณ จะนำมาใช้ในการแก้อสมการ ดังนี้ เมื่อกำหนด a , b , c เป็นจำนวนจริงใด ๆ
1. ถ้า a < b แล้ว a + c < b + c
2. ถ้า a < b แล้ว a - b < 0
3. ถ้า a < b แล้ว ac < bc เมื่อ c > 0
แต่ถ้าa < b แล้ว ac > bc เมื่อ c < 0
4. ถ้า a > b แล้ว a + c > b + c
5. ถ้า a > b แล้ว a - b > 0
6. ถ้า a > b แล้ว ac > bc เมื่อ c > 0
ac < bc เมื่อ c < 0
“ > ” หรือเปลี่ยนเครื่องหมาย “ > ” เป็น “ < ”
เช่น 3x - 8 < 1 + 5x
3x - 5x < 1 + 8
-2x < 9
นำ -1/2 คูณตลอดอสมการ จะได้ ; x->2/9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น